Support
IPC Health Checkup Center
02-713-6715
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

Classic Package : 1,399฿

วันที่: 2014-04-23 11:21:07.0

 

โปรแกรมตรวจเช็คสุขภาพเบื้องต้นแบบครอบคลุม
ทั้งการตรวจเช็คสุขภาพร่างกายทั่วไปและความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

1. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC)
• ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell count : RBC)
• ตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (White Blood Cell count : WBC)
• ตรวจนับแยกชนิดเม็ดเลือดขาว (Differntial White Blood Cell count )
• ตรวจนับจำนวนเกร็ดเลือด (Platelet count)
• ตรวจความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit : Hct)
• ตรวจปริมาณความเข้มข้นฮีโมโกลบิน (Hemoglobin : Hb)
• ตรวจรูปร่างของเม็ดเลือดแดง(RBC morphology)
• ตรวจปริมาตรเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (Mean Corpuscular Volume : MCV)
• ตรวจปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง( (Mean Corpuscular Hemoglobin : MCH)
• ตรวจความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular hemoglobin concentration : MCHC)

 

2. ตรวจหมู่เลือด (Blood Group)
• ตรวจหมู่เลือดระบบ ABO (ABO Blood Type Grouping)

 

3. ตรวจหาความเสี่ยงโรคเบาหวาน (DIABETIC SCREEN)
• ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar : FBS)
เป็นการตรวจเพื่อหาโรคเบาหวาน โดยใช้วิธีการตรวจวัดระดับกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือด
หลังจากอดอาหารมาก่อน อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
การมีเบาหวาน หมายถึง มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง

 

4. ตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจ (CORONARY RISK / CARDIAC PROFILE)
• ตรวจระดับคลอเลสเตอรอล (Total Cholesterol)
• ตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)
• ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL Cholesterol)
• ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL Cholesterol)
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ และโรคอัมพาต เราจึงควรมีการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้ โดยให้การบำบัดรักษาอย่างถูกต้องไม่ให้มีระดับไขมันในเลือดสูง

 

5. ตรวจหาความเสี่ยงโรคกระดูกและข้อ (BONE & JOINT SCREEN)
• ตรวจวัดระดับกรดยูริคในเลือด (Uric Acid)
การมีกรดยูริคสูงในเลือด อาจทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ที่เรียกว่า เก๊าท์ (Gout) ซึ่งเกิดจากกรดยูริคมีการสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของข้อในรูปของผลึกยูเรต นอกจากนั้นการมีกรดยูริคสูง ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ด้วย

 

6. ตรวจเช็คการทำงานของไต
• ตรวจวัดระดับยูเรียในเลือด (Blood Urea Nitrogen : BUN)
• ตรวจวัดระดับสารครีเอตินิน (Creatinine : Cr)
เป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของไต ว่ายังคงสามารถทำงานในการกรองของเสียออกจากร่างกายหรือไม่
โดยตรวจวัดสารทั้ง 2 ตัว ซึ่งสารทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นสารซึ่งเกิดขึ้นในร่างกายตลอดเวลา จากขบวนการ การเผาผลาญทางชีวเคมีในเลือด ซึ่งไตจะทำหน้าที่ในการขับถ่ายสารเหล่านี้ออกจากร่างกาย ทำให้ไม่มีการสะสมอยู่ในเลือด

 

7. ตรวจเช็คการทำงานของตับ (LIVER FUNCTION SCREEN)
• ตรวจวัดระดับเอนไซม์ตับ ALP (Alkaline Phosphatase : ALP)
• ตรวจวัดระดับเอนไซม์ตับ SGPT/ALT
• ตรวจวัดระดับเอนไซม์ตับ SGOT/AST
เมื่อตับเกิดโรคมีการทำลาย หรือการอักเสบของเนื้อตับ จะทำให้มีการหลั่งเอนไซม์ SGOT, SGPT ออกมาสู่กระแสเลือดมากขึ้น ทำให้ตรวจพบมีระดับสูงขึ้นกว่าปกติ

 

8. ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
• ตรวจปัสสาวะด้วยกล้องจุลทัศน์ (Urine FEME)
การตรวจปัสสาวะ มีประโยชน์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการบอกถึงความผิดปกติของไต และระบบทางเดินปัสสาวะ โดยบอกได้ทั้งความผิดปกติของหน้าที่การทำงาน เช่น ไตวาย และความผิดปกติทางกายวิภาค เช่น การอักเสบติดเชื้อ นิ่ว เป็นต้น

 

9. ตรวจอุจจาระ (Stool Analysis)
• ตรวจอุจจาระด้วยกล้องจุลทัศน์ (Stool FEME)

 

 * หมายเหตุ : ราคานี้เป็นราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และเป็นราคาสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น    ::: สมัครสมาชิก :::