Support
IPC Health Checkup Center
02-713-6715
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

Heart Disease Screen

วันที่: 2014-04-23 11:23:02.0

 

โรคหัวใจ
ในประเทศไทยโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดจากความเจ็บป่วยอันดับ ๒ รองจากมะเร็ง เป็นภาระโรคสำคัญอันดับ ๓ รองจากเอดส์และอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคหนึ่งของโรคหัวใจ ที่เป็นปัญหาที่สำคัญของคนไทย และเป็นโรคที่มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี และพบว่า ในช่วงเวลา 10 ปี อัตราป่วยเพิ่มขึ้น 5 เท่า ส่วน อัตราตายเพิ่มขึ้น 6 เท่า
โรคหัวใจขาดเลือด มักมีสาเหตุมาจาก การสูบบุหรี่ ระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินหรือ อ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ผู้ที่มีเคลื่อนไหวหรือออกก าลังกายน้อย รวมทั้ง ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ มีโอกาสเกิดโรคหัวใจสูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิด โรคหัวใจมากถึง 2-4 เท่า
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน  ในประเทศไทย พบว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือด เคยมีประวัติเป็นเบาหวานถึง ร้อยละ 44 นอกจากนี้เรายังพบว่า โรคหัวใจ ยังมีสาเหตุจาการที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษา พบว่า ร้อยละ 94 ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด คือผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

 

 

การตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจ
 
1.การตรวจร่างกาย
เพื่อดูน้ำหนัก ส่วนสูง อ้วนหรือไม่ การจับชีพจร อัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ฟังเสียงหัวใจว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ เช่น เสียงสาม เสียงสี่ หรือ เสียงฟู่ นอกจากนั้นแล้วแพทย์จะตรวจร่างกายทุกระบบด้วยเพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ ละดูโรคอื่นๆที่อาจพบร่วมด้วย
 
2.การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือที่เรียกว่า “EKG” เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
ในกล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าอัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถือว่าเป็นการตรวจที่ง่าย
และสะดวก ผู้รับการตรวจจะไม่เจ็บจากการตรวจ
การตรวจทำได้โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางเอาสื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่วางไว้ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย
ได้แก่ บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นลงบนกระดาษ ขั้นตอนการตรวจนี้ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที
แต่บางที เราก็อาจจะไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจบางชนิดได้ในการตรวจตามธรรมดา
เนื่องจากถ้าหากหัวใจไม่ได้ทำงานหนักขึ้นการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจจะยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้การทดสอบ
สมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกายต่อไป
 
3.การ X-Ray ทรวงอก
หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอกซเรย์ปอด ซึ่งจะเห็นทั้งปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ การกระจายของเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด หรือหัวใจล้มเหลว เงาของหัวใจซึ่งบอกขนาดหัวใจได้ดีพอควร
 
4.การตรวจเลือด
เป็นการตรวจหาระดับสารต่างๆในเลือด เช่น ระดับคลอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอร์ไรด์, ระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL), ระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL) เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ และเพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค และ การใช้ยาต่างๆ (เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อนจากยา)
 
โรคหัวใจวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดได้ โดยการตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ร่วมกับการตรวจเลือดจะช่วยในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการตรวจเลือดในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมากจนสามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดอาการ และยังช่วยแยกโรคที่มีอาการใกล้เคียงกัน ทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แหล่งข้อมูล :
1.การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด ในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ดร. อรวรรยา ภูมิศรีแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
2.ทำไม? ...ต้องตรวจเลือด – ตรวจปัสสาวะ
รศ.ดร.พญ.นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล , พญ.นิลรัตน์ วรรณศิลป์ ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
3.สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์